TGAT2 92 การคิดอย่างมีเหตุผล

โครงสร้างข้อสอบ

  • ข้อสอบ TGAT2 92 การคิดอย่างมีเหตุผล

  • เป็นการวัดสมรรถนะการคิดอย่างมีเหตุผล (Critical & Logical Thinking) ประกอบด้วย

  • 1) ความสามารถทางภาษา

    2) ความสามารถทางตัวเลข

    3) ความสามารถทางมิติสัมพันธ์

    4) ความสามารถทางเหตุผล

    จำนวน: 80 ข้อ
  • ประเภทข้อสอบ ปรนัย (5 ตัวเลือก)

    ระยะเวลาที่ใช้สอบ 60 นาที

จำนวนข้อ
80 ข้อ
คะแนนเต็ม
100 คะแนน

ตัวอย่างข้อสอบ

  • ความสามารถทางภาษา

    ข้อสอบความสามารถทางภาษามี 4 ด้าน คือ

    1) การสื่อความหมาย

    2) การใช้ภาษา

    3) การอ่าน

    4) การเข้าใจภาษา

    ดังตัวอย่างต่อไปนี้

    ตัวอย่างข้อสอบ

    1. ความสามารถในการสื่อความหมาย

    (1) ข้อใดมีความหมายแคบที่สุด

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ความสามารถในการสื่อความหมาย

    ระดับความยาก

    ปานกลาง

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    คำว่า “นี้” ทำให้ตัวเลือก 5 มีความหมายแคบกว่าตัวเลือกอื่น

  • 2. ความสามารถในการใช้ภาษา

    (2) ข้อใดใช้ภาษาอย่างเป็นทางการ

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ความสามารถในการใช้ภาษา

    ระดับความยาก

    ปานกลาง

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    ตัวเลือกอื่น ๆ มีภาษาพูด ปะปน ในข้อความ

  • 3. ความสามารถในการอ่าน

    (3) ข้อความต่อไปนี้ เหมาะสมที่จะเป็นบทสรุปของการบรรยายเรื่องใด
    “จงเคารพและเข้าใจในการดำรงอยู่ของแต่ละสังคม จงเคารพในกระบวนการคิดและการตัดสินใจของคนแต่ละคนแต่ละกลุ่ม แล้วเราจะพบความเป็นหนึ่งของแต่ละคน เหมือนไม้ทุกต้นย่อมมียอดของมันเอง’”

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ความสามารถในการอ่าน

    ระดับความยาก

    ปานกลาง

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    ข้อความแสดงให้เห็น บุคคลแต่ละคนจะมีคุณลักษณะที่เหนือคนอื่น ๆ การยอมรับการคิดและการตัดสินใจสะท้อนถึงการทำงานร่วมกันระหว่างคนที่มีความแตกต่างกัน

  • 4. ความสามารถในการเข้าใจภาษา

    (4) ควรเติมสำนวนใดลงในช่องว่างต่อไปนี้

    “ประไพเป็นคนชอบพูดตรง ๆ แบบ___________จึงไม่มีใครชอบ แม้ว่าจะเป็นเรื่องจริงที่มาจากความจริงใจ”

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ความสามารถในการเข้าใจภาษา

    ระดับความยาก

    ปานกลาง

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    เป็นสำนวนที่มีความหมายสอดคล้องกับข้อความ

  • ความสามารถทางจำนวน

    ข้อสอบความสามารถทางจำนวน มี 4 ด้าน คือ

    1) อนุกรมมิติ

    2) การเปรียบเทียบเชิงปริมาณ

    3) ความเพียงพอของข้อมูล

    4) โจทย์ปัญหา

    ดังตัวอย่างต่อไปนี้

    ตัวอย่างข้อสอบ

    1. อนุกรมมิติ

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : อนุกรมมิติ

    ระดับความยาก

    ง่าย

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    ตัวเลขเรียงเพิ่มขึ้นทีละ 12 ฉะนั้น ตัวเลขที่ขาดหายไปในช่อง ? จึงเป็น 72 ข้อนี้จึงเลือกตอบตัวเลือก 2

  • 2. การเปรียบเชิงปริมาณ

    ให้เปรียบเทียบปริมาณทั้งสามนี้แล้วตอบตามตัวเลือก ดังนี้

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ความสามารถในการใช้ภาษา

    ระดับความยาก

    ง่าย

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    เมื่อคำนวณค่าของแต่ละสดมภ์ตามเงื่อนไขที่กำหนดให้

    ได้ผลลัพธ์ดังนี้

    สดมภ์ ก. มีค่า 50

    สดมภ์ ข. มีค่า 52

    สดมภ์ ค. มีค่า 41

    ดังนั้น สดมภ์ ข. มีค่ามากสุด จึงเลือกตอบตัวเลือก 2

  • 3. ความเพียงพอของข้อมูล

    ข้อมูล (ก) และ (ข) ซึ่งเป็นข้อมูลที่ใช้ในการแก้ปัญหาให้นักเรียนพิจารณาว่าต้องใช้ข้อมูลใดบ้างจึงจะเพียงพอที่จะตอบคำถามนั้นได้ และตัดสินใจเลือกตอบดังนี้

     

    (3) สนามกีฬารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีพื้นที่เท่าใด

    ข้อมูล ก สี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความยาวรอบรูป 48 เมตร

    ข้อมูล ข สี่เหลี่ยมจัตุรัส มีเส้นทแยงมุมยาว เมตร

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ความสามารถในการอ่าน

    ระดับความยาก

    ปานกลาง

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    ปัญหานี้หาคำตอบได้โดยการแก้สมการ ข้อมูล ก สามารถใช้แก้สมการเพื่อหาค่าความยาวด้านแล้วนำไปหาพื้นที่ได้ หรือใช้ข้อมูล ข ในการหาคำตอบโดยใช้เส้นทแยงมุมหาได้เลย ข้อนี้จึงเลือกตอบตัวเลือก 4 เพราะใช้ข้อมูล ก หรือข้อมูล ข เพียงข้อใดข้อหนึ่งก็ตอบคำถามได้

  • 4. โจทย์ปัญหา

    (4) การสอบครั้งหนึ่งมีจำนวนผู้เข้าสอบผู้ชายต่อจำนวนผู้เข้าสอบผู้หญิงเป็น 1 : 2 ถ้ามีผู้เข้าสอบผู้ชาย 100 คน จะมีจำนวนผู้เข้าสอบผู้หญิงกี่คน

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ความสามารถในการเข้าใจภาษา

    ระดับความยาก

    ง่าย

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    จำนวนผู้เข้าสอบผู้ชายต่อจำนวนผู้เข้าสอบผู้หญิงเป็น 1 : 2 ถ้ามีผู้เข้าสอบผู้ชาย 100 คน ดังนั้นจะมีจำนวนผู้เข้าสอบผู้หญิง 200 คน ข้อนี้จึงเลือกตอบตัวเลือก 4

  • ความสามารถทางด้านมิติสัมพันธ์

    ข้อสอบความสามารถทางมิติสัมพันธ์ประกอบด้วย

    1) แบบพับกล่อง

    2) แบบหาภาพต่าง

    3) แบบหมุนภาพสามมิติ

    4) แบบประกอบภาพ

    ดังตัวอย่างต่อไปนี้

    ตัวอย่างข้อสอบ

    1. แบบพับกล่อง

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : แบบพับกล่อง

    ระดับความยาก

    ปานกลาง

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    จากรูปที่กำหนดให้เพื่อพับกล่องโจทย์พบว่าตรงกับตัวเลือก 2

  • 2. แบบหาภาพต่าง

     

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : แบบหาภาพต่าง

    ระดับความยาก

    ยาก

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    จากภาพที่กำหนดให้ เมื่อนำภาพจากโจทย์มาหมุนในทิศทางต่าง ๆ พบว่า ภาพตัวเลือก 2 เป็นภาพที่แตกต่างจากโจทย์ เพราะหางที่ชี้ขึ้นด้านบนยาวไม่เท่ากับโจทย์

     

  • 3. แบบหมุนภาพสามมิติ

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ความสามารถในการอ่าน

    ระดับความยาก

    ปานกลาง

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    จากโจทย์ที่กำหนดให้ภาพมีการหมุนจากซ้ายไปขวาดังนั้น ตัวเลือกที่ตรงกับโจทย์ที่กำหนดให้คือตัวเลือก 4

  • 4. แบบประกอบภาพ

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ความสามารถในการเข้าใจภาษา

    ระดับความยาก

    ยาก

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    เมื่อนำชิ้นส่วนที่กำหนดให้มาประกอบกับตัวเลือก 1 แล้วหมุนจะตรงกับโจทย์ที่กำหนดให้

  • ความสามารถทางเหตุผล

    ข้อสอบความสามารถทางจำนวน มี 4 ด้าน คือ

    1) อนุกรมภาพ

    2) อุปมาอุปไมยภาพ

    3) สรุปความ

    4) วิเคราะห์ข้อความ

    ดังตัวอย่างต่อไปนี้

    ตัวอย่างข้อสอบ

    1. แบบอนุกรมภาพ

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ความสามารถด้านเหตุผล

    ระดับความยาก

    ง่าย

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    จากภาพหาระบบได้ว่า ภาพที่กำหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมใหญ่และมีรูปสี่เหลี่ยมเล็กสีขาวและสีดำอยู่ภายใน

    -เพิ่มรูปสี่เหลี่ยมเล็กสีขาว ภาพละ 1 รูป จาก 1 รูป เป็น 2 รูป เป็น 3 รูป จนภาพสุดท้ายจะเป็น 4 รูป ส่วนรูปสี่เหลี่ยมเล็กสีดำทั้ง 2 รูป จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง

    ฉะนั้นภาพต่อไปใน ? ตามตัวเลือก 1 จึงจะถูกต้อง

  • 2. แบบอุปมาอุปไมยภาพ

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ความสามารถด้านเหตุผล

    ระดับความยาก

    ง่าย

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    ความสัมพันธ์ของภาพคู่แรกที่กำหนดให้คือ ภาพของรูปทรงที่มีรูปขนาดเล็กอยู่ภายในรูปขนาดใหญ่ โดยทั้งรูปเล็กและรูปใหญ่มีรูปทรงเดียวกัน ความสัมพันธ์คือภาพเล็กภายในเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีดำ แต่ไม่มีการเปลี่ยนรูปทรง ภาพที่มีความสัมพันธ์เช่นเดียวกับภาพที่กำหนดคือตัวเลือก 1

  • 3. แบบสรุปความ

    คำชี้แจง โปรดใช้ข้อมูลต่อไปนี้สำหรับการตอบคำถาม

    ครอบครัวของฉันมีพี่น้อง 4 คน คือ ฉัน เจน ก้อย นนท์

    เจนเป็นน้องของฉัน และมีอายุมากกว่าก้อยและนนท์

    ก. ฉันเป็นพี่คนโต

    ข. นนท์เป็นผู้ชาย

    ค. ก้อยอายุมากกว่านนท์

     

    ข้อสรุปใดถูกต้อง

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ความสามารถด้านเหตุผล

    ระดับความยาก

    ง่าย

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    เจนมีอายุมากกว่าก้อยและนนท์ เจนจึงเป็นพี่ของก้อยและนนท์ เมื่อเจนเป็นน้องของฉัน ก้อยและนนท์ จึงเป็นน้องของฉันด้วย และครอบครัวของฉันมีพี่น้องรวมกัน 4 คน จึงสรุปได้ว่าฉันเป็นพี่คนโต ตามข้อสรุป ก.จะไปคิดว่านนท์ต้องเป็นผู้ชาย ตามข้อสรุป ข. หรือ ก้อยอายุมากกว่านนท์ ตามข้อสรุป ค. ไม่ได้ เพราะโจทย์ไม่ได้กำหนดไว้ ฉะนั้นคำตอบที่ถูกต้องคือ ตัวเลือก 1

  • 4. แบบวิเคราะห์ข้อความ

    คำชี้แจง โปรดใช้ข้อมูลต่อไปนี้สำหรับการตอบคำถาม ข้อ (0) ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด

    A B C D เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและระดับชั้นมัธยมศึกษา
    โดยมีรายละเอียดของข้อมูลดังนี้

    • A และ B เป็นนักเรียนระดับชั้นเดียวกัน
    • C และ D เป็นนักเรียนคนละระดับชั้นกัน
    • D เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา

    ในการตัดสินใจเลือกตอบ มีเงื่อนไข ดังนี้

    (0)

    (ก) C เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

    (ข) A เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ความสามารถด้านเหตุผล

    ระดับความยาก

    ปานกลาง

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    โจทย์กำหนดให้ D เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา และอยู่คนละระดับชั้นกับ C ฉะนั้น C จึงเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ส่วน A และ B อยู่ระดับชั้นเดียวกัน แต่ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าเป็นนักเรียนระดับชั้นใด ฉะนั้น ข้อสรุป (ก) จึงถูก ส่วนข้อสรุป (ข) ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าถูกหรือผิด คำตอบที่ถูกต้องคือ ตัวเลือก 4

หมายเหตุ: "โครงสร้างข้อสอบและตัวอย่างข้อสอบ" เป็นแนวทางในการเตรียมตัวสอบของผู้เข้าสอบเท่านั้น มิได้หมายความว่า ข้อสอบในปีปัจจุบันจะต้องกำหนดระดับความถูกต้องของคำตอบเหมือนกันทุกประการ