A-Level 84 Deu ภาษาเยอรมัน

โครงสร้างข้อสอบ

  • ข้อสอบ A-Level 84 Deu ภาษาเยอรมัน

  • เป็นการวัดสมรรถนะการใช้ภาษาเยอรมันในการสื่อสาร ประกอบด้วย

  • 1) ความสามารถในการเขียน

    จำนวน: 20 ข้อ
  • 2) การใช้คำศัพท์และสำนวนภาษาเยอรมันในสถานการณ์ชีวิตประจำวัน

    จำนวน: 10 ข้อ
  • 3) การอ่านตัวบทภาษาเยอรมัน

    จำนวน: 20 ข้อ
  • ประเภทข้อสอบ ปรนัย (4 ตัวเลือก)

    ระยะเวลาที่ใช้สอบ 90 นาที

จำนวนข้อ

ความสามารถในการเขียน / 40 คะแนน
20 ข้อ
การใช้คำศัพท์และสำนวนภาษาเยอรมันในสถานการณ์ชีวิตประจำวัน / 20 คะแนน
10 ข้อ
การอ่านตัวบทภาษาเยอรมัน / 40 คะแนน
20 ข้อ
รวม50 ข้อ
คะแนนเต็ม
100 คะแนน

ตัวอย่างข้อสอบ

  • 1. ความสามารถในการเขียน

    Meine Freundin hat sich für das Architekturstudium entschieden, ____________________.

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ความสามารถในการเขียน

    ระดับการวัด ระดับความยาก

    การนำไปใช้

    ปานกลาง

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    การลำดับคำในประโยคย่อยแตกต่างตามแต่ประเภทของคำสันธานที่ใช้ในการเชื่อมประโยค โดยคำตอบข้อ 2 นอกจากจะสอดคล้องกับกฎไวยากรณ์ภาษาเยอรมันแล้ว (คำสันธาน weil จะนำหน้าประโยคย่อยซึ่งมีคำกริยาที่ผันรูปอยู่ท้ายประโยค) เนื้อความในประโยคยังสอดคล้องกับบริบทในประโยคหลักด้วย (เพื่อนของฉันตัดสินใจศึกษาต่อด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์เพราะเขาสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ในปฏิบัติงานได้)

  • 2. การใช้คำศัพท์และสำนวนในสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน

    A: Hallo. Ich bin Micha von Radio Bremen und mache eine Umfrage zum Thema Sport. ____________________?

    B: Ja, klar.

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : การใช้คำศัพท์และสำนวนในสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน

    ระดับการวัด ระดับความยาก

    การวิเคราะห์

    ง่าย

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    สถานการณ์ในบริบทนี้ได้แก่ การเริ่มบทสนทนาด้วยขอสัมภาษณ์ ดังนั้นประโยคที่สัมพันธ์กับบริบทที่สุดได้แก่ Kann ich dir ein paar Fragen stellen? หรือ “ขอถามเธอสัก 2-3 ข้อได้ไหม”

  • 3. การอ่านตัวบทภาษาเยอรมัน

    Ein Gesetz gegen komische Vornamen gibt es in Deutschland nicht. Aber es gibt ein paar Regeln:

    • Ein Vorname sollte möglichst eindeutig als Vorname zu erkennen sein. „Müller“ oder „Schröder“ gehen also nicht.
    • Auch belastende Namen wie „Christus“, „Satan“ oder auch „McDonald“ werden in Deutschland nicht zugelassen.

     

    Welche Erklärung passt nicht zu „belastenden Namen“?

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : การอ่านตัวบทภาษาเยอรมัน

    ระดับการวัด ระดับความยาก

    การวิเคราะห์

    ยาก

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    แม้จะไม่มีกฎหมายห้ามการตั้งชื่อแปลก ๆ แต่ก็มีหลักปฏิบัติกำหนดไว้บ้าง อาทิ ไม่ให้ใช้ “belastende Namen” หรือชื่อที่จะสร้างปัญหาให้กับเจ้าของชื่อ ตามตัวอย่างในตัวบทได้แก่ ชื่อที่ไม่พึงใช้เนื่องจากเหตุผลทางศาสนา (เช่น Christus) ชื่อที่จะทำให้เกิดความน่าตลกขบขัน (เช่น McDonald) ชื่อที่มีความหมายแฝงเชิงลบ (เช่น Satan) แต่ไม่ใช่ชื่อที่ออกเสียงได้ยาก

หมายเหตุ: "โครงสร้างข้อสอบและตัวอย่างข้อสอบ" เป็นแนวทางในการเตรียมตัวสอบของผู้เข้าสอบเท่านั้น มิได้หมายความว่า ข้อสอบในปีปัจจุบันจะต้องกำหนดระดับความถูกต้องของคำตอบเหมือนกันทุกประการ